วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชดำรัสว่า "การปลูกป่าทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลายนั้นจะต้องสร้างฝายเล็กเพื่อหนุนน้ำส่งไปตามเหมืองไปใช้ในพื้นที่เพาะปลูกทั้งสองด้าน ซึ่งจะให้น้ำค่อย ๆ แผ่ขยายออกไปทำความชุ่มชื้นในบริเวณนั้นด้วย"
     ในส่วนของรูปแบบและลักษณะ Check Dam นั้น ได้พระราชทานพระราชดำรัสไว้ว่า "...ให้พิจารณาดำเนินการสร้างฝายราคาประหยัด โดยใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่น แบบทิ้งหินคลุมด้วยตาข่ายปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารเล็ก ๆ เป็นระยะ ๆ เพื่อให้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่กักเก็บไว้จะซึมเข้าไปในดินทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้าง ต่อไปจะสามารถปลูกพันธุ์ไม้ป้องกันไฟ พันธุ์ไม้โตเร็ว และพันธุ์ไม้ไม่ทิ้งใบ เพื่อฟื้นฟูที่ต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มขึ้นเป็นลำดับ..."
     ประเภทของ Check Dam นั้น ทรงจำแนกออกเป็น ๒ ประเภท ดังพระราชดำรัสคือ 
     Check Dam มี ๒ อย่าง ชนิดหนึ่งสำหรับให้มีความชุ่มชื้น รักษาความชุ่มชื้น อีกอย่างสำหรับป้องกันมิให้ทรายลงในอ่างใหญ่ จึงอาจกล่าวได้ว่า Check Dam นั้น ประเภทแรก คือ ฝายต้นน้ำลำธารหรือฝายชะลอความชุ่มชื้น ส่วนประเภทที่สองนั้นเป็นฝายดักตะกอนนั่นเอง
     การสร้าง Check Dam พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมในรายละเอียดว่า "...สำหรับ Check Dam ชนิดป้องกันไม่ให้ทรายไหลลงไปในอ่างใหญ่จะต้องทำให้ดีและลึกเพราะทรายลงมากจะกักเก็บไว้ ถ้าน้ำตื้นทรายจะข้ามไปลงอ่างใหญ่ ถ้าเป็น Check Dam สำหรับรักษาความชุ่มชื้นไม่จำเป็นต้องขุดลึกเพียงแต่กักน้ำให้ลงไปในดิน แต่แบบกักทรายนี้จะต้องทำให้ลึกและออกแบบอย่างไรไม่ให้น้ำลงมาแล้วไล่ทรายออกไป..."
     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพิจารณาสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นขึ้น เพื่อสร้างระบบวงจรน้ำแก่ป่าไม้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือให้ดำเนินการสำรวจทำเลสร้างฝายต้นน้ำลำธารในระดับที่สูงที่ใกล้บริเวณยอดเขามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลักษณะของฝายดังกล่าวจำเป็นจะต้องออกแบบใหม่ เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ปริมาณมากพอสมควรเป็นเวลานาน ๒ เดือนการเก็บรักษาน้ำสำรองได้นานหลังจากฤดูฝนผ่านไปแล้ว จะทำให้มีปริมาณน้ำหล่อเลี้ยงและประคับประคองกล้าไม้พันธุ์ที่แข็งแรงและโตเร็วที่ใช้ปลูกแซมในป่าแห้งแล้งอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยการจ่ายน้ำออกไปรอบ ๆ ตัวฝายจนสามารถตั้งตัวได้

namyoan5 (5)
ฝายต้นน้ำ หรือฝายต้นน้ำลำธาร หรือฝายกั้นน้ำ หรือฝายแม้ว หรือฝายชะลอความชุ่มชื้น คือสิ่งเดียวกัน เรียกด้วยภาษาอังกฤษว่า Check Dam คือ สิ่งก่อสร้างขวาง หรือกั้นทางเดินของลำน้ำ ซึ่งปกติมักจะกั้นลำห้วย ลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นต้นน้ำหรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ให้สามารถกักตะกอนอยู่ได้ และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลง และกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลลงไปทับถมลำน้ำตอนล่างซึ่งเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้มากวิธีการหนึ่ง
namyoan5 (14)
ประโยชน์ของฝายต้นน้ำ
1.ช่วยลด ความรุนแรงของการเกิดไฟป่า เนื่องจากการกระจายความชุ่มชื้นมากขึ้น สร้างระบบการควบคุมไฟป่า ด้วยแนวป้องกันไฟป่าเปียก (Wet Fire Break)
2.ช่วยลด การชะล้างพังทลายของดิน และลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย ทำให้ระยะเวลาการไหลของน้ำเพิ่มมากขึ้น ความชุ่มชื้น มีเพิ่มขึ้นและแผ่กระจายความชุ่มชื้นออกไปเป็นวงกว้างในพื้นที่ ทั้งสองฝั่งของลำห้วย
3.ช่วยกับเก็บตะกอนและวัสดุต่างๆ ที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วยได้ดี เป็นการช่วยยืดอายุแหล่งน้ำตอนล่างให้ตื้นเขินช้าลง คุณภาพของน้ำมีตะกอนปะปนน้อยลง
4.ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางด้านชีวภาพให้แก่พื้นที่ ทำให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ
5.ใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของมนุษย์ และสัตว์ป่าต่างๆ ตลอดจนมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรกรรมอีกด้วย
namyoan5 (12)
รูปแบบและลักษณะของฝายต้นน้ำ
จากแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นเพื่อสร้างระบบวงจรน้ำแก่ป่าไม้ สามารถกระทำได้ ๓ รูปแบบ คือ
1.แบบท้อง ถิ่นเบื้องต้น เป็นการก่อสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น กิ่งไม้ และท่อนไม้ล้มขอนนอนไพร ขนาบด้วยก้อนหินขนาดต่างๆ ในลำห้วยเป็นการก่อสร้างแบบง่ายๆ ก่อสร้างในบริเวณตอนบนของลำห้วยหรือร่องน้ำ ซึ่งสามารถดักตะกอน ชะลอการไหลของน้ำ และเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณฝายได้เป็นอย่างดี วิธีนี้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก หรืออาจจะไม่มีค่าใช้จ่ายเลย นอกจากแรงงานเท่านั้น
2.แบบเรียงด้วยหินค่อนข้างถาวร ก่อสร้างด้วยการเรียงหินเป็นผนังกั้นน้ำ ก่อสร้างบริเวณตอนกลาง และตอนล่างลำห้วยหรือร่องน้ำ จะสามารถดักตะกอน และเก็บกักน้ำในช่วงฤดูแล้งได้เป็นบางส่วน
3.แบบ คอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นการก่อสร้างแบบถาวรส่วนมากจะดำเนินการบริเวณตอนปลายของลำห้วย หรือร่องน้ำจะสามารถดักตะกอน และเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดี ค่าก่อสร้างจะมีราคาค่อนข้างสูงกว่าแบบอื่นๆ

namyoan5 (21)
ขั้นตอนการสร้างฝายต้นน้ำ
1. การเลือกที่สร้างฝายต้นน้ำ การเลือกทำเลสำหรับสร้างฝายต้นน้ำ ควรพิจารณาเลือกให้เหมาะสม ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
1.ที่สร้างฝาย ควรจะอยู่ในตำแหน่งที่สามารถเป็นแหล่งกักเก็บน้ำบริเวณด้านหน้าฝายได้พอสมควร
2.บริเวณที่สร้างฝาย ควรมีตลิ่งของลำน้ำทางด้านข้างของตัวฝายสูงมากพอที่จะไม่ทำให้น้ำไหลท่วมและกัดเซาะเป็นร่องน้ำได้
3.ควรสร้างในบริเวณลำห้วยที่มีความลาดชันต่ำและแคบ เพื่อจะได้เป็นฝายในขนาดที่ไม่เล็กเกินไป อีกทั้งยังสามารถเก็บกักน้ำและตะกอนได้มากพอควร สำหรับลำห้วยที่มีความลาดชันสูงก็ควรสร้างฝายให้ถี่ขึ้น
4.ควรสำรวจสภาพพื้นที่ วัสดุก่อสร้างตามธรรมชาติ และรูปแบบฝายที่เหมาะสมกับภูมิประเทศมากที่สุด เช่น ควรพิจารณาสร้างฝายต้นน้ำแบบท้องถิ่นเบื้องต้นในตอนบนของพื้นที่ป่าหรือ ลำห้วยสาขา สำหรับตอนกลาง หรือตอนล่างของพื้นที่ซึ่งเป็นลำห้วยหลัก ก็ควรจะกำหนดเป็นฝายแบบกึ่งถาวรหรือฝายแบบถาวร
5.ต้องคำนึงถึงความแข็งแรงให้มากพอ ที่จะไม่เกิดการพังทลายเสียหายกรณีฝนตกหนักและกระแส น้ำไหลแรง จากประสบการณ์พบว่า การเลือกทำเลที่สร้างฝายบริเวณที่ผ่านโค้งของลำห้วยมาเล็กน้อย หรือบริเวณที่มีต้นไม้ใหญ่หรือกอไผ่อยู่บริเวณริมห้วยจะเสริมให้ฝายมีความมั่นคงแข็งแรงมากขึ้น ไม่เกิดการพังทลายได้ง่าย
6.ข้อสำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือฝายต้นน้ำ มิได้มีหน้าที่เป็นฝายทดน้ำเพื่อส่งน้ำเข้าสู่ พื้นที่เพาะปลูก ดังนั้น จุดที่จะสร้างฝายต้นน้ำ จึงควรเป็นลำห้วยที่มิได้มีน้ำไหลตลอดปี สภาพป่ามีความแห้งแล้ง ซึ่งจะต้องฟื้นฟูให้เกิดความชุ่มชื้นและอุดมสมบูรณ์ต่อไป
7.การเลือกจุดที่ก่อสร้างฝายต้นน้ำ ปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึง คือ ประโยชน์ที่จะได้รับจากฝาย ไม่ว่าจะเป็นด้านการอนุรักษ์ต้นน้ำ ด้านการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้ ด้านนิเวศวิทยา ตลอดจนด้านชุมชน นอกจากนี้การกำหนดพื้นที่จะก่อสร้างต้องขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ความจำเป็น และความเหมาะสมอื่นๆ อีกด้วย
namyoan5 (13)
2. การสำรวจรายละเอียดภูมิประเทศ เมื่อเลือกทำเล ที่จะสร้างฝายต้นน้ำได้เรียบร้อยจนพร้อมที่จะเริ่มงานออกแบบ และทำการก่อสร้างต่อไปได้แล้ว ขั้นตอนต่อไป ก็ควรจะต้องทำการสำรวจรายละเอียด สำหรับใช้ประกอบการออกแบบและประมาณราคางาน รายละเอียดภูมิประเทศที่สำคัญได้แก่ ระดับแสดงความสูงต่ำของพื้นที่ต้นน้ำ ตามแนวฝายและบริเวณที่จะสร้างฝาย ซึ่งควรจะทำการสำรวจแล้วเขียนแผ่นที่แสดงด้วย ในแผนที่ดังกล่าว ควรจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับแนวและรูปร่างของทางน้ำ ในบริเวณที่จะสร้างฝายให้ชัดเจน วิธีการสำรวจและการจัดทำแผนที่สามารถดำเนินการได้ ดังนี้
1.เครื่องมือสำรวจที่จำเป็นได้แก่ โซ่หรือเทปสำหรับวัดระยะทาง กล้องส่องระดับหรือกล้องส่งระดับมือ ไม้แสดงระยะสำหรับใช้ส่องระดับ และเข็มทิศ
2.การสำรวจบริเวณที่สร้างฝาย จะเริ่มด้วย การสร้างหมุดหลักฐานสองหมุดไว้ที่สองฟากของลำน้ำ พร้อมทั้งกำหนดค่าระดับสมมุติที่หมุดหนึ่ง หาค่าระดับแนว และระยะของอีกหมุดหนึ่ง เพื่อใช้ในการสำรวจต่อไปเช่นกัน
namyoan5 (39)

การสำรวจรายละเอียดบริเวณที่สร้างฝายที่สำคัญ ได้แก่ การสำรวจแนวและความกว้างของลำน้ำ และระดับความสูงต่ำของพื้นดินจากตลิ่งทั้งสองฝั่งลงมาจนถึงท้องลำน้ำ ในการสำรวจฝายต้นน้ำ ฝายแบบท้องถิ่นเบื้องต้นนั้น อาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องเขียนแผนที่บริเวณที่ก่อสร้างหรือระดับ อาจใช้การเดินสำรวจลำห้วยหรือร่องน้ำโดยราษฎรแล้วทำแผนที่ลำห้วยบริเวณร่องน้ำ (Mapping) แบบง่ายๆ แล้วกำหนดจุดที่จะสร้างฝาย เพื่อให้ทราบตำแหน่งของตัวฝาย ความกว้างและความสูงของฝาย เนื่องจากฝายรูปแบบนี้จะก่อสร้างแบบง่ายๆ ใช้วัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ จึงไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องการออกแบบมากนัก จะเน้นเฉพาะการก่อสร้างให้เกิดความมั่นคงแข็งแรงเป็นหลัก สำหรับรูปแบบฝายที่ค่อนข้างถาวรและฝายแบบถาวร ซึ่งจะต้องนำผลการสำรวจรายละเอียดภูมิประเทศไปประกอบการคำนวณออกแบบ
namyoan5 (11)
หลังจาก ที่ได้มีการสำรวจรายละเอียดภูมิประเทสบริเวณที่จะก่อสร้างฝายต้นน้ำแล้ว ควรทำการศึกษาสภาพฐานรากของท้องลำห้วย หรือร่องน้ำว่าตัวฝายอยู่บนฐานรากลักษณะใด การออกแบบโดยทั่วไป จะต้องคำนึงถึงความแข็งแรงของตัวฝาย สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการใช้งานให้มากที่สุด โดยเฉพาะฝายต้นน้ำแบบท้องถิ่น เบื้องต้น ถึงแม้จะไม่มีการออกแบบตามหลักวิชาการ ก็ควรจะมีการกำหนดวิธีการก่อสร้าง ให้สามารถใช้งานได้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ โดยเสียค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างน้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้ การออกแบบฝายจึงต้องมีการดำเนินงานอย่างละเอียดรอบคอบ ให้เกิดประโยชน์ในการใช้งานได้มากที่สุด และมีความประหยัดเป็นหลักเสมอ การออกแบบเพื่อกำหนดขนาดของฝาย ไม่มีการกำหนดขนาดที่แน่นอน แต่ให้คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1.พื้นที่รับน้ำของแต่ละห้วย/ฝาย
2.ความลาดชันของพื้นที่
3.สภาพของต้นน้ำและการชะล้างพังทลายของดิน
4.ปริมาณน้ำฝน
5.ความกว้างลึกของลำห้วย
6.แหล่งวัสดุตามธรรมชาติ
7.วัตถุประสงค์ของการก่อสร้าง
namyoan5 (1)
3. การประมาณราคาราคาก่อสร้าง งานต่างๆ จะประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานก่อสร้าง ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะต้องจัดหามาใช้งาน การประมาณค่าก่อสร้างให้ถูกต้องและใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายจริงนั้น จะต้องอาศัยประสบการณ์ และต้องทราบหรือเข้าใจถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง รวมทั้งจะต้องพิจารณาถึงขั้นตอนว่าจะดำเนินการอย่างไร ผู้ก่อสร้างจะสามารถควบคุมการก่อสร้าง ให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ได้ใกล้เคียงมากน้อยเพียงใด ฤดูกาลขณะที่จะทำการก่อสร้างจะเป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้างมากน้อยอย่างไร อัตราค่าแรง ค่าใช้จ่ายของช่างและผู้ควบคุฒงานตลอดจนราคาวัสดุที่จะซื้อ รวมทั้งค่าขนส่ง ที่นำมาบริเวณก่อสร้าง ความสามารถในการทำงาน ของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคน และพัฒนาความรู้เกี่ยวกับเครื่องจักร เครื่องมือ ที่จะใช้ทำงานอย่างละเอียด ซึ่งเมื่อได้คำนวณปริมาตรงานต่างๆ ไว้เรียบร้อยแล้ว ก็จะทราบค่าก่อสร้างของงานแต่ละประเภทนั้นได้
namyoan5 (6)
 




รูปแบบของฝายสามารถแบ่งออกได้ ๓ แบบ



๑. แบบท้องถิ่นเบื้องต้น หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "ฝายแม้ว" เป็นการก่อสร้างด้วยวัสดุมีอยู่ตามธรรมชาติที่ เช่น กิ่งไม้ ท่อนไม้ ขนาบด้วยก้อนหินขนาดต่างๆ ในลำห้วย หรือร่องน้ำ โดยจะสามารถดักตะกอน ชะลอการไหลของน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่บริเวณพื้นที่รอบๆ ฝายได้
๒. แบบเรียงด้วยหินค่อนข้างถาวร เป็นการก่อสร้างด้วยการเรียงหินเป็นผนังกั้นน้ำ ก่อสร้างบริเวณตอนกลางและตอนล่างของลำห้วย หรือร่องน้ำ จะสามารถดักตะกอน และเก็บกักน้ำในช่วงฤดูแล้งได้บางส่วน
๓. แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นการก่อสร้างแบบถาวร ส่วนมากจะดำเนินการในบริเวณตอนปลายของลำห้วยหรือร่องน้ำ ทำให้สามารถดักตะกอน และเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดี ค่าก่อสร้างขึ้นอยู่กับขนาดของลำห้วย ซึ่งควรมีความกว้างไม่เกิน ๔ เมตร




พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชดำรัสว่า "การปลูกป่าทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลายนั้นจะต้องสร้างฝายเล็กเพื่อหนุนน้ำส่งไปตามเหมืองไปใช้ในพื้นที่เพาะปลูกทั้งสองด้าน ซึ่งจะให้น้ำค่อย ๆ แผ่ขยายออกไปทำความชุ่มชื้นในบริเวณนั้นด้วย"
 
     ในส่วนของรูปแบบและลักษณะ Check Dam นั้น ได้พระราชทานพระราชดำรัสไว้ว่า "...ให้พิจารณาดำเนินการสร้างฝายราคาประหยัด โดยใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่น แบบทิ้งหินคลุมด้วยตาข่ายปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารเล็ก ๆ เป็นระยะ ๆ เพื่อให้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่กักเก็บไว้จะซึมเข้าไปในดินทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้าง ต่อไปจะสามารถปลูกพันธุ์ไม้ป้องกันไฟ พันธุ์ไม้โตเร็ว และพันธุ์ไม้ไม่ทิ้งใบ เพื่อฟื้นฟูที่ต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มขึ้นเป็นลำดับ..."
 
     ประเภทของ Check Dam นั้น ทรงจำแนกออกเป็น ๒ ประเภท ดังพระราชดำรัสคือ 
     Check Dam มี ๒ อย่าง ชนิดหนึ่งสำหรับให้มีความชุ่มชื้น รักษาความชุ่มชื้น อีกอย่างสำหรับป้องกันมิให้ทรายลงในอ่างใหญ่ จึงอาจกล่าวได้ว่า Check Dam นั้น ประเภทแรก คือ ฝายต้นน้ำลำธารหรือฝายชะลอความชุ่มชื้น ส่วนประเภทที่สองนั้นเป็นฝายดักตะกอนนั่นเอง
 
     การสร้าง Check Dam พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมในรายละเอียดว่า "...สำหรับ Check Dam ชนิดป้องกันไม่ให้ทรายไหลลงไปในอ่างใหญ่จะต้องทำให้ดีและลึกเพราะทรายลงมากจะกักเก็บไว้ ถ้าน้ำตื้นทรายจะข้ามไปลงอ่างใหญ่ ถ้าเป็น Check Dam สำหรับรักษาความชุ่มชื้นไม่จำเป็นต้องขุดลึกเพียงแต่กักน้ำให้ลงไปในดิน แต่แบบกักทรายนี้จะต้องทำให้ลึกและออกแบบอย่างไรไม่ให้น้ำลงมาแล้วไล่ทรายออกไป..."
 
     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพิจารณาสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นขึ้น เพื่อสร้างระบบวงจรน้ำแก่ป่าไม้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือให้ดำเนินการสำรวจทำเลสร้างฝายต้นน้ำลำธารในระดับที่สูงที่ใกล้บริเวณยอดเขามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลักษณะของฝายดังกล่าวจำเป็นจะต้องออกแบบใหม่ เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ปริมาณมากพอสมควรเป็นเวลานาน ๒ เดือนการเก็บรักษาน้ำสำรองได้นานหลังจากฤดูฝนผ่านไปแล้ว จะทำให้มีปริมาณน้ำหล่อเลี้ยงและประคับประคองกล้าไม้พันธุ์ที่แข็งแรงและโตเร็วที่ใช้ปลูกแซมในป่าแห้งแล้งอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยการจ่ายน้ำออกไปรอบ ๆ ตัวฝายจนสามารถตั้งตัวได้

โครงการฝายชะลอน้ำ




   หลักการหนึ่งในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ คือ การทำฝายชะลอน้ำ หรือฝายชะลอความชุ่มชื้น ซึ่งหมายถึง สิ่งก่อสร้างที่ขวางทางกั้นลำน้ำขนาดเล็กในบริเวณต้นน้ำ หรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง เพื่อให้น้ำที่ไหลมาแรงสามารถที่จะชะลอการไหลช้าลงและเก็บกักตะกอน เพื่อไม่ให้ลงไปสู่บริเวณลุ่มน้ำตอนล่าง 

ประเภทของฝายชะลอน้ำหรือฝายชะลอความชุ่มชื้น แบ่งได้ ๒ ประเภท
๑. ฝายต้นน้ำลำธาร หรือฝายชะลอความชุ่มชื้น เป็นฝายที่กักเก็บน้ำให้ไหลช้าลง และสามารถซึมลงใต้ผิวดิน เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้แก่พื้นบริเวณนั้น
๒. ฝายดักตะกอนดิน ทราย เป็นฝายที่ดักตะกอนดินและทรายไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่าง

รูปแบบของฝายสามารถแบ่งออกได้ ๓ แบบ 
๑. แบบท้องถิ่นเบื้องต้น หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ฝายแม้ว” เป็นการก่อสร้างด้วยวัสดุมีอยู่ตามธรรมชาติที่ เช่น กิ่งไม้ ท่อนไม้ ขนาบด้วยก้อนหินขนาดต่างๆ ในลำห้วย หรือร่องน้ำ โดยจะสามารถดักตะกอน ชะลอการไหลของน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่บริเวณพื้นที่รอบๆ ฝายได้ 
๒. แบบเรียงด้วยหินค่อนข้างถาวร เป็นการก่อสร้างด้วยการเรียงหินเป็นผนังกั้นน้ำ ก่อสร้างบริเวณตอนกลางและตอนล่างของลำห้วย หรือร่องน้ำ จะสามารถดักตะกอน และเก็บกักน้ำในช่วงฤดูแล้งได้บางส่วน
๓. แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นการก่อสร้างแบบถาวร ส่วนมากจะดำเนินการในบริเวณตอนปลายของลำห้วยหรือร่องน้ำ ทำให้สามารถดักตะกอน และเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดี ค่าก่อสร้างขึ้นอยู่กับขนาดของลำห้วย ซึ่งควรมีความกว้างไม่เกิน ๔ เมตร

ประโยชน์ของฝายชะลอน้ำ 
๑. ช่วยเก็บกักน้ำ
๒. ช่วยลดความรุนแรงของการเกิดไฟป่า
๓. ช่วยลดการพังทลายของหน้าดิน และลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย
๔. ช่วยกักเก็บตะกอนและวัสดุต่างๆ ที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วย
๕. ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ
๖. เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และใช้เป็นแหล่งน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค 

แนวทางการก่อสร้างฝายชะลอน้ำ


 

1. แนวทางการก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร/ฝายชะลอน้ำ
     
    1. การเลือกสถานที่ก่อสร้าง 
    
        ในการเลือกจุดที่ก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธารปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือ ประโยชน์ที่จะได้รับจากฝาย ไม่ว่าจะเป็น ด้านการอนุรักษ์ต้นน้ำ ด้านนิเวศวิทยาป่าไม้ ด้านเกษตรกรรม ตลอด จนด้านชุมชน นอกจากนี้การกำหนดพื้นที่ที่จะก่อสร้าง ยังต้องขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ความจำเป็น และความเหมาะสมอื่น ๆ ประกอบอีกด้วย 
    
    2. การเลือกวัสดุสำหรับก่อสร้าง 

        รูปแบบของฝายต้นน้ำลำธาร สามารถแบ่งแยกออกตามวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเป็น2 แบบด้วยกัน คือ วัสดุที่หาได้จากธรรมชาติ เช่น เศษไม้ ปลายไม้ และเศษวัชพืช หินขนาดต่าง ๆ ที่หาได้ในพื้นที่ และวัสดุที่จะต้องจัดซื้อ เช่น ปูนซีเมนต์ เหล็กเส้น กรวด ทราย การเลือกวัสดุแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดและวัตถุประสงค์ รวมทั้งสภาพพื้นที่ ปริมาณน้ำ และปัจจัยต่างๆ ในแต่ละจุด     

   
     3. การกำหนดขนาดของฝาย 
            
           ขนาดของฝายไม่มีการกำหนดขนาดตายตัว ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
        3.1 พื้นที่รับน้ำของแต่ละลำห้วย 
        3.2 ความลาดชันของพื้นที่ 
        3.3 สภาพของดินและการชะล้างพังทลายของดิน 
        3.5 ความกว้าง-ลึกของลำห้วย         3.4 ปริมาณน้ำฝน 
        3.6 วัตถุประสงค์ของการก่อสร้าง


    4. วิธีการก่อสร้าง 
    
        การก่อสร้างฝายแต่ละฝายขึ้นอยู่กับชนิดและวัสดุที่ใช้ ถ้าเป็นฝายผสมผสาน เช่น ฝายเศษไม้ และฝายกระสอบทราย เป็นเพียงการนำวัสดุดังกล่าวมาวางกองรวมกันเพื่อขวางร่องห้วย โดยใช้หลักเสาไม้ หรือเสาคอนกรีตปักยึดให้ลึกพอสมควรก็เพียงพอ เนื่องจากฝายดังกล่าวส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับต้น ๆ ของลำห้วย ซึ่งมีปริมาณน้ำและความรุนแรงของการไหลไม่มาก จึงไม่จำเป็นต้องการความแข็งแรงนัก ประกอบกับฝายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อกรองตะกอนไว้เพียงบางส่วนเท่านั้น ไม่มีการเก็บกักน้ำ จึงสามารถสร้างได้ทั่ว ๆ ไปไม่มีข้อกำหนดมากนัก 

        ส่วนฝายกึ่งถาวร และฝายถาวร เช่น ฝายหินเรียงและฝายคอนกรีตเสริมเหล็กนั้น ในการก่อสร้างควรเน้นเรื่องความแข็งแรงเป็นหลัก ควรมีการวางฐานรากที่แข็งแรงให้เพียงพอ
 โดยการเจาะลึกลงไปในพื้นที่ร่องห้วยให้ถึงดินแข็งหรือชั้นหินประมาณ 1 เมตร และมีสันฝายลึกเข้าไปในผนังร่องห้วยทั้งสองด้านอย่างน้อยข้างละ 1.00 - 1.50 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของดินในแต่ละห้วยด้วย หรืออาจใช้วิธีการอย่างอื่นเพื่อเสริมความแข็งแรงของตัวฝายให้มากขึ้นก็ได้ อนึ่งในการก่อสร้างฝายแต่ละชนิด ถ้าเป็นฝายกึ่งถาวรหรือฝายถาวรที่มีการเก็บกักน้ำ ควรคำนึงถึงทางระบายน้ำหรือทางน้ำล้นให้เพียงพอกันกับปริมาณน้ำที่ไหลผ่าน ไม่เช่นนั้นอาจจะกระทบกระเทือนกับโครงสร้างของฝายนั้น ๆ ได้ 

ฝายต้นน้ำลำธาร หรือฝายชะลอความชุ่มชื้น
chackdam1_1 chackdam1_3 
ฝายดักตะกอน
chackdam1 chackdam2_2 chackdam3_1
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมในรายละเอียดว่า สำหรับ Check Dam ชนิดป้องกันไม่ให้ทราย ไหลลงไปในอ่างใหญ่จะต้องทำให้ดีและลึกเพราะทรายลงมากจะกักเก็บไว้ ถ้าน้ำตื้นทรายจะข้ามไปลงอ่างใหญ่
สำหรับรักษาความชุ่มชื้นไม่จำเป็นต้องขุดลึกเพียงแต่กักน้ำให้ลงไปในดิน แต่แบบกักทรายนี้จะต้ทำให้ลึกและออกแบบอย่างไร ไม่ให้น้ำลงมาแล้วไล่ทรายออกไปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพิจารณาสร้างฝาย ชะลอความชุ่มชื้นขึ้น เพื่อสร้างระบบวงจรน้ำแก่ป่าไม้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ ให้ดำเนินการสำรวจทำเลสร้างฝายต้นน้ำลำธารในระดับที่สูงที่ใกล้บริเวณยอดเขามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลักษณะของฝายดังกล่าว จำเป็นจะต้องออกแบบใหม่ เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ปริมาณมากพอสมควรเป็นเวลานาน 2 เดือน การเก็บรักษาน้ำสำรองได้นานหลัง จากฤดูฝนผ่านไปแล้ว จะทำให้มีปริมาณน้ำหล่อเลี้ยงและประคับประคองกล้าไม้พันธุ์ที่แข็งแรงและโตเร็วที่ใช้ปลูกแซมในป่าแห้งแล้งอย่าง สม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยการจ่ายน้ำออกไปรอบ ๆ ตัวฝายจนสามารถตั้งตัวได้

วันอังคารที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2560


กลุ่มของข้าพเจ้าได้ศึกษาในศาสตร์พระราชา โครงการฝายชะลอน้ำ ได้รับประโยชน์ดังนี้

  1. ช่วยกักเก็บน้ำ
  2. ลดการพังทลายของหน้าดินและลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย
  3.  เป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำและแหล่งอาหารของสัตว์ต่างๆในธรรมชาติ
  4. ช่วยลดความรุนแรงของกาารเกิดไฟป่า
  5. ช่วยกักเก็บตะกอนต่างๆที่ไหลลงมาในลำห้วย
  6. เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ 
  7. ชะลอการไหลของกระแสน้ำ
ทั้งนี้ ผู้คิดค้นโครงการนี้ขึ้นมาคือ พระบามสมเด็จพระเจ้าภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (ร.๙)
ท่านได้ทรงตระหนักถึงความลำบากของประชาชนในพื้นที่ที่ประสบปัญหา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชดำรัสว่า "การปลูกป่าทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลายนั้นจะต้องสร้างฝายเล็กเพื่อหนุนน้ำส่งไปตามเหมืองไปใช้ในพื้นที่เพาะปลูกทั้งสองด้าน ซึ่งจะให้น้ำค่อย ๆ แผ่ขยายออกไปทำความชุ่มชื้นในบริเวณนั้นด้วย"
     และยังได้พระราชทานพระราชดำรัสอีกไว้ว่า "...ให้พิจารณาดำเนินการสร้างฝายราคาประหยัด โดยใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่น แบบทิ้งหินคลุมด้วยตาข่ายปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารเล็ก ๆ เป็นระยะ ๆ เพื่อให้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่กักเก็บไว้จะซึมเข้าไปในดินทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้างต่อไปจะสามารถปลูกพันธุ์ไม้ป้องกันไฟ พันธุ์ไม้โตเร็ว และพันธุ์ไม้ไม่ทิ้งใบ เพื่อฟื้นฟูที่ต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มขึ้นเป็นลำดับ..."

ความรู้สึกของสมาชิกในกลุ่มหลังได้ศึกษา ศาสตร์พระราชา โครงการฝายชะลอน้ำ มีดังนี้
สมาชิกคนที่ 1. ด.ญ.ณิชารี นิมมานนท์ มีความเห็นว่า การศึกษาโครงการนี้ทำให้ตระหนักถึงความเป็นห่วงเป็นใยที่พระเจ้าอยู่หัวร.๙ ทรงมีต่อประชาชนของพระองค์ พระองค์ทรงเดินทางไปยังถื่นทุรกันดารต่างๆอย่างไม่ย่อถอยละทรงงานหนักมาเพื่อประชาชนของท่านมากว่า70ปี โครงการนี้เป็นเพียงส่วนเล็ั้กๆส่วนหนึ่งจากทั้งหมดเกือบ4,000โครงการด้ยกัน โดยเลือกโครงการนี้มาเพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวแลคนในครอบครัว ชุมชน และ ประเทศสามารถทำเองได้ไม่ยาก โดยท้องถิ่นอำเภอปากช่องมีเขื่อน น้ำตก คลองเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเขาใหญ่ โครงการนี้อาจสามารถช่วยให้ชะลอการไหลเชี่ยวของกระแสน้ำได้
และสามารถนำไปใช้ชีวิตประจำวันได้ดังนี้   สามารถสร้างฝายเล็กๆเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ได้ และสร้างสามารถสร้างความหลากหลายทางชีวภาพในน้ำอีกด้วย

ความรู้สึกของสมาชิกในกลุ่มหลังได้ศึกษา ศาสตร์พระราชา โครงการฝายชะลอน้ำ มีดังนี้
สมาชิกคนที่ 2.ด.ญ.ขวัญกุล ภาศักดิ์ดี  มีความเห็นว่า มีประโยชน์การศึกษาโครงการนี้ทำให้ตระหนักถึงความเป็นห่วงเป็นใยที่พระเจ้าอยู่หัวร.๙ ทรงมีต่อประชาชนของพระองค์ พระองค์ทรงเดินทางไปยังถื่นทุรกันดารต่างๆอย่างไม่ย่อถอยละทรงงานหนักมาเพื่อประชาชนของท่านมากว่า70ปี โครงการนี้เป็นเพียงส่วนเล็ั้กๆส่วนหนึ่งจากทั้งหมดเกือบ4,000โครงการด้วยกัน  โดยท้องถิ่นอำเภอปากช่องมีเขื่อน น้ำตก คลองเป็นจำนวนมาก สามารถช่วยให้ชะลอการไหลของกระแสน้ำได้
และสามารถนำไปใช้ชีวิตประจำวันได้ดังนี้   สามารถสร้างฝายเล็กๆเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ได้

ความรู้สึกของสมาชิกในกลุ่มหลังได้ศึกษา ศาสตร์พระราชา โคร                                                                                                งการฝายชะลอน้ำ มีดังนี้
สมาชิกคนที่ 3 ด.ญ.บุญญารัตน์ ยวงยิ้ม  มีความเห็นว่า  พระเจ้าอยู่หัวร.๙ ทรงมีความเมตตาต่อประชาชนของพระองค์ พระองค์ทรงเดินทางไปยังถื่นทุรกันดารต่างๆอย่างไม่ย่อถอยละทรงงานหนักมาเพื่อประชาชน โครงการนี้เป็นเพียงส่วนเล็ั้กๆส่วนหนึ่งจากทั้งหมดเกือบ4,000โครงการด้วยกัน โดยเลือกโครงการนี้มาเพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวแลคนในครอบครัว ชุมชน และ ประเทศสามารถทำเองได้ไม่ยาก โดยท้องถิ่นอำเภอปาก่ชองมี น้ำตก คลองเป็นจำนวนมาก  โครงการนี้สามารถช่วยให้ชะลอการไหลเชี่ยวของกระแสน้ำได้
และสามารถนำไปใช้ชีวิตประจำวันได้ดังนี้ สร้างสามารถสร้างความหลากหลายทางชีวภาพในน้ำได้


คณะผู้จัดทำ
1. ด.ญ.ณิชารี นิมมานนท์ เลขที่ 39 ม.2/4
2. ด.ญ.ขวัญกุล ภาศักดิ์ดี เลขที่ 20 ม.2/4
3.ด.ญ.บุญญารัตน์ ยวงยิ้ม เลขที่27 ม.2/4

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชดำรัสว่า  "การปลูกป่าทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลายนั้นจะต้องสร้างฝายเล็กเพื่อหนุนน้ำส่งไปตามเหมืองไปใช้ในพื้น...